การแข่งขัน Thailand Cyber Top Talent 2023

Thailand Cyber Top Talent 2023

การแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมุ่งหวังให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่เข้าร่วมการแข่งขันได้ เรียนรู้ พัฒนาทักษะ และประสบการณ์ เพื่อให้กลายเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และเป็นการสร้างแรงงานออกสู่ตลาดแรงงานในอนาคต อีกทั้งเป็นการช่วยเพิ่มความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ให้กับบุคคลทั่วไปมากขึ้น และผู้ที่ได้รางวัลชนะเลิศยังมีสิทธิเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันในรายการ Cyber SEA Game 2023

🔔 อัพเดทประกาศ ข่าวสาร และประชาสัมพันธ์

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน

เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลาย หรือเทียบเท่า สังกัดโรงเรียนหรือสถาบันในประเทศไทย โดยต้องแนบบัตรนักเรียนเป็นหลักฐานประกอบการสมัคร
เป็นนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่า สังกัดมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในประเทศไทย อายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่ลงทะเบียนสมัคร โดยต้องแนบบัตรนิสิตหรือนักศึกษาเป็นหลักฐานประกอบการสมัคร
เป็นหน่วยงาน CII หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปสัญชาติไทย
• รับสมัครเป็นทีม ทีมละไม่เกิน 3 คน กรณีระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา สมาชิกมาจากต่างโรงเรียน ต่างมหาวิทยาลัย หรือต่างสถาบันต้องอยู่ภูมิภาคเดียวกัน
• ผู้สมัคร 1 คน สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกได้เพียง 1 ทีมเท่านั้น
• ชื่อทีมต้องมีความเหมาะสม ไม่หยาบคาย สามารถเผยแพร่สู่สาธารณะได้
• ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนด หากคณะกรรมการพบว่ามีผู้เข้าแข่งขันทำผิดข้อกำหนดหรือกติกาใด ๆ ระหว่างการแข่งขัน คณะกรรมการขอสงวนสิทธิ์ตัดสิทธิ์การเข้าร่วมแข่งขันของทีมดังกล่าว และการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
เปิดรับสมัครถึง 8 กันยายน 2566

รูปแบบและกติกาการแข่งขัน

การแข่งขันจะแบ่งเป็น 3 ระดับ

ระดับมัธยมศึกษา เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลาย หรือเทียบเท่า สังกัดโรงเรียนหรือสถาบันในประเทศไทย

ระดับอุดมศึกษา เป็นนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่า สังกัดมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในประเทศไทย อายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่ลงทะเบียนสมัคร

ระดับประชาชนทั่วไป เป็นหน่วยงาน CII หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปสัญชาติไทย

รูปแบบการแข่งขัน แบ่งเป็น 2 รอบ

  • รอบที่ 1 รอบคัดเลือก เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Jeopardy คือผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกโจทย์ในหัวข้อใดทำก่อนก็ได้ คะแนนของโจทย์แต่ละหัวข้อจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของโจทย์
  • รอบที่ 2 รอบชิงชนะเลิศ เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Attack the virtual World คือผู้เข้าแข่งขันต้องหาคำตอบจากเครื่องแม่ข่าย เครื่องผู้ใช้งาน และอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบจำลอง ด้วยการโจมตีจากภายนอก และต้องหาคำตอบจากร่องลอยในเครื่องแม่ข่ายที่ถูกโจมตี

🏆 รางวัลการแข่งขัน

เงินรางวัลรวมกว่า 521,000 บาท

  • ระดับประชาชนทั่วไป เป็นเงิน 201,000 บาท
    • 🥇 ชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 100,000 บาท
    • 🥈 ชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล  50,000 บาท
    • 🥉 ชนะเลิศอันดับ 3 เงินรางวัล  30,000 บาท
    • 🏅 รางวัลชมเชยสำหรับทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ทีมละ 3,000 บาท
  • ระดับอุดมศึกษา เป็นเงิน 171,000 บาท
    • 🥇 ชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล  90,000 บาท
    • 🥈 ชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล  40,000 บาท
    • 🥉 ชนะเลิศอันดับ 3 เงินรางวัล  20,000 บาท
    • 🏅 รางวัลชมเชยสำหรับทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ทีมละ 3,000 บาท
  • ระดับมัธยมศึกษา เป็นเงิน 149,000 บาท
    • 🥇 ชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 80,000 บาท
    • 🥈 ชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 30,000 บาท
    • 🥉 ชนะเลิศอันดับ 3 เงินรางวัล 18,000 บาท
    • 🏅 รางวัลชมเชยสำหรับทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ทีมละ 3,000 บาท

รายละเอียดกติกาการแข่งขัน

รอบคัดเลือก

เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Jeopardy คือผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกโจทย์ในหัวข้อใดทำก่อนก็ได้ คะแนนของโจทย์แต่ละหัวข้อจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของโจทย์ ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

➢ Web Application
➢ Digital Forensic
➢ Reverse Engineering & Pwnable
➢ Network Security
➢ Mobile Security
➢ Programming
➢ Cryptography

ระยะเวลาการแข่งขัน : วันเสาร์ที่ 16 กันยายน 2566 เวลา 09:00 – 16:00 น. (รวมเวลา 7 ชั่วโมง)

เกณฑ์การคัดเลือก : คัดเลือกจากทีมที่ทำคะแนนได้สูงสุดและส่งคำตอบเร็วที่สุดจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไป
ระดับมัธยมศึกษา ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 10 ทีม
ระดับอุดมศึกษา ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 10 ทีม

โดยกำหนดโควตาในในการเข้ารอบแบ่งตามภูมิภาคไว้ดังนี้ (อ้างอิงจากที่ตั้งโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย)

➢ กทม. 2 ทีม
➢ ภาคกลางและภาคตะวันออกยกเว้น กทม. 2 ทีม
➢ ภาคเหนือ 2 ทีม
➢ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ทีม
➢ ภาคใต้ 2 ทีม

ระดับประชาชนทั่วไปไม่กำหนดภูมิภาค จำนวน 10 ทีม

รวมจำนวนทีมทั้งทั้ง 3 ระดับ ที่จะผ่านเข้ารอบทั้งสิ้น 30 ทีม

ประกาศผลรอบคัดเลือก : –

ตารางการอบรมก่อนการแข่งขันรอบคัดเลือก

รอบชิงชนะเลิศ

เป็นการแข่งขัน CTF Jeopardy ในรูปแบบ Attack the virtual World โดยผู้เข้าแข่งขันต้องหาคำตอบจากเครื่องแม่ข่าย เครื่องผู้ใช้งาน และอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบจำลอง ด้วยการโจมตีจากภายนอก และต้องหาคำตอบจากร่องลอยในเครื่องแม่ข่ายที่ถูกโจมตี

รูปภาพ Diagram : การแข่งขัน CTF Jeopardy ในรูปแบบ Attack the virtual World

ระยะเวลาการแข่งขัน : วันเสาร์ที่ 30 กันยายน 2566 เวลา 09:00 – 16:00 น. (รวมเวลา 7 ชั่วโมง)

เกณฑ์การตัดสิน : ทีมที่ทำคะแนนได้สูงสุดและส่งคำตอบเร็วที่สุด

หมายเหตุ
– ในการแข่งขันแต่ละรอบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขันผู้เข้าร่วมแข่งขันแต่ละท่านต้องจัดเตรียมคือคอมพิวเตอร์ (เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้เสถียร), กล้อง Webcam และไมโครโฟน
– หากเกิดข้อโต้แย้งใด ๆ ระหว่างการแข่งขัน การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
– กำหนดการสำหรับการแข่งขันอาจมีการเปลี่ยนแปลง ตามความเหมาะสมของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

การสมัครเข้าแข่งขัน (เปิดรับสมัคร 24 กรกฎาคม ถึง 8 กันยายน 2566)

⭐️ ระดับมัธยมศึกษาคลิก! (Junior) (ปิดรับสมัครแล้ว)

⭐️ ระดับอุดมศึกษาคลิก! (Senior) (ปิดรับสมัครแล้ว)

⭐️ ระดับประชาชนทั่วไปคลิก! (Open) (ปิดรับสมัครแล้ว)

ตรวจสอบรายชื่อทีมสมัครแข่งขัน

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ร.อ.นพรัตน์ สุจินดา
โทร. 089-600-6626
อีเมล [email protected] และทาง facebook fanpage ของ NCSA

ข่าวสารและกิจกรรมการแข่งขันที่ผ่านมา

Loading

Related Posts

การแข่งขัน Women Thailand Cyber Top Talent 2023

การแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับ “ผู้หญิง” และ ”เพศสภาพเป็นหญิง” “Woman Thailand Cyber Top Talent 2023” ✨ จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 333,000 บาท

Read more

การแข่งขัน Women : Thailand Cyber Top Talent 2022

การแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับ ผู้หญิง ครั้งแรกของประเทศไทย (Woman Thailand Cyber Top Talent 2022) จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมุ่งหวังให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่เป็นผู้หญิงหรือมีเพศสภาพเป็นหญิง ได้เรียนรู้ เพิ่มทักษะ และพัฒนาประสบการณ์ เพื่อให้เป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และเป็นการสร้างศักยภาพบุคลากรไซเบอร์ในระดับองค์กรหรือทั่วไป และส่งเสริมให้ผู้หญิงทุกคนมีสิทธิ และใช้สิทธิในการแสดงออกถึงศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่

Read more

การแข่งขัน Thailand Cyber Top Talent 2022

การแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด

Read more

การแข่งขัน “Cybersecurity Hackathon by SECUREiNFO” เพื่อเฟ้นหาสุดยอดฝีมือด้าน Cybersecurity ระดับอุดมศึกษา

บริษัท ซีเคียวอินโฟ จำกัด ผู้ให้บริการด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ครบวงจร ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ขอเชิญนิสิตนักศึกษาสมัครเข้าแข่งขัน “Cybersecurity Hackathon by SECUREiNFO” เพื่อเฟ้นหาสุดยอดฝีมือด้าน Cybersecurity ชิงรางวัล และอื่นๆ รวมมูลค่ากว่า 100,000 บาท พร้อมโอกาสในการร่วม Bootcamp เตรียมความพร้อมสู่มืออาชีพจาก ThiveDX ผู้พัฒนาหลักสูตรอบรมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่เป็นมาตรฐานเดียวกับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา

Read more

การแข่งขัน Palo Alto Networks Capture The Flag, Capture the Future Competition 2022

Palo Alto Networks ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช ขอเชิญชวนน้อง ๆ นิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เข้าร่วมแข่งขันในโครงการ Palo Alto Networks Capture The Flag, Capture the Future Competition 2022
ซึ่งเป็น โครงการที่จะเฟ้นหาสุดยอด ฝีมือจากน้องๆมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เพื่อเข้าสู่วงการ Cybersecurity เพื่อชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาท
ฟอร์มทีมพร้อมแล้วมาสมัครกันนะคะ หมดเขตรับสมัคร 30 กันยายนนี้ น้องๆนักศึกษาและนิสิตผู้สนใจ

Read more

Thailand Cyber Top Talent 2021

การแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติร่วมกับบริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมุ่งหวังให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่เข้าร่วมการแข่งขันได้ เรียนรู้ พัฒนาทักษะ และประสบการณ์ เพื่อให้กลายเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และเป็นการสร้างแรงงานออกสู่ตลาดแรงงานในอนาคต อีกทั้งเป็นการช่วยเพิ่มความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ให้กับบุคคลทั่วไปมากขึ้น

Read more