Women Thailand Cyber Top Talent 2024
การแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับ ผู้หญิง
จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)
ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด
มุ่งหวังให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่เป็นผู้หญิงหรือมีเพศสภาพเป็นหญิงได้เรียนรู้ เพิ่มทักษะ และพัฒนาประสบการณ์ เพื่อให้เป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และเป็นการสร้างศักยภาพบุคลากรไซเบอร์ในระดับองค์กรหรือทั่วไปและส่งเสริมให้ผู้หญิงทุกคนมีสิทธิ และใช้สิทธิในการแสดงออกถึงศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
• เป็นนักเรียนหญิงหรือมีเพศสภาพเป็นหญิง
• เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลาย ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า สังกัดโรงเรียนหรือสถาบันในประเทศไทย
• เป็นนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า สังกัดมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในประเทศไทย
• เป็นหน่วยงาน CII หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปสัญชาติไทย
การรับสมัคร
• รับสมัครเป็นทีม ทีมละไม่เกิน 3 คน
• ผู้สมัคร 1 คน สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกได้เพียง 1 ทีมเท่านั้น
• ชื่อทีมต้องมีความเหมาะสม ไม่หยาบคาย สามารถเผยแพร่สู่สาธารณะได้
• ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนด หากคณะกรรมการพบว่ามีผู้เข้าแข่งขันทำผิดข้อกำหนดหรือกติกาใด ๆ ระหว่างการแข่งขัน คณะกรรมการขอสงวนสิทธิ์ตัดสิทธิ์การเข้าร่วมแข่งขันของทีมดังกล่าว และการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
รูปแบบและกติกาการแข่งขัน
การแข่งขันจะแบ่งเป็น 3 ระดับ
- ระดับ WJunior นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลาย ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า
- ระดับ WSenior นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า
- ระดับ WOpen หน่วยงาน CII หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป
รอบที่ 1 รอบคัดเลือก เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Jeopardy คือผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกโจทย์ในหัวข้อใดทำก่อนก็ได้ คะแนนของโจทย์แต่ละหัวข้อจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของโจทย์ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
➢ Web Application
➢ Digital Forensic
➢ Reverse Engineering & Pwnable
➢ Network Security
➢ Mobile Security
➢ Programming
➢ Cryptography
กำหนดการแข่งขันรอบคัดเลือก (online) วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม 2568 เวลา 9:00 – 15:00 น.
รอบที่ 2 รอบชิงชนะลิศ เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Jeopardy คือผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกโจทย์ในหัวข้อใดทำก่อนก็ได้ คะแนนของโจทย์แต่ละหัวข้อจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของโจทย์โดยมีหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
➢ Web Application
➢ Digital Forensic
➢ Reverse Engineering & Pwnable
➢ Network Security
➢ Mobile Security
➢ Programming
➢ Cryptography
กำหนดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ (on-site) วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2568 เวลา 9:00 – 16:00 น.
เกณฑ์การคัดเลือกเข้ารอบชิงชนะเลิศ : คัดเลือกจากทีมที่ทำคะแนนได้สูงสุดและส่งคำตอบเร็วที่สุด
ระดับมัธยมศึกษา ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 10 ทีม
ระดับอุดมศึกษา ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 10 ทีม
โดยกำหนดโควตาในในการเข้ารอบแบ่งตามภูมิภาคไว้ดังนี้ (อ้างอิงจากที่ตั้งโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย) [ตรวจสอบได้ที่นี่]
➢ กทม. 2 ทีม
➢ ภาคกลางและภาคตะวันออกยกเว้น กทม. 2 ทีม
➢ ภาคเหนือ 2 ทีม
➢ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ทีม
➢ ภาคใต้ 2 ทีม
ระดับประชาชนทั่วไปไม่กำหนดภูมิภาค จำนวน 10 ทีมรวมจำนวนทีมทั้งทั้ง 3 ระดับ ที่จะผ่านเข้ารอบทั้งสิ้น 30 ทีม
🏆 รางวัลการแข่งขัน
เงินรางวัลรวมกว่า 333,000 บาท
ระดับนักเรียน
🥇 ชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 30,000 บาท
🥈 ชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 20,000 บาท
🥉 ชนะเลิศอันดับ 3 เงินรางวัล 10,000 บาท
🏅 รางวัลชมเชย ทีมละ 3,000 บาท
ระดับนักศึกษา
🥇 ชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 40,000 บาท
🥈 ชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 30,000 บาท
🥉 ชนะเลิศอันดับ 3 เงินรางวัล 20,000 บาท
🏅 รางวัลชมเชย ทีมละ 3,000 บาท
ระดับทั่วไป
🥇 ชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 50,000 บาท
🥈 ชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 40,000 บาท
🥉 ชนะเลิศอันดับ 3 เงินรางวัล 30,000 บาท
🏅 รางวัลชมเชย ทีมละ 3,000 บาท
การสมัครเข้าแข่งขัน เปิดรับสมัคร 16 ธันวาคม 2567 ถึง 8 มกราคม 2568
ตรวจสอบรายชื่อทีมสมัครแข่งขัน
เรียนรู้ VDO ย้อนหลังเกี่ยวกับทักษะการแข่งขัน
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ร.อ.นพรัตน์ สุจินดา
โทร. 096-896-5544
อีเมล [email protected]