depa ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐและเอกชนระดับชาติ เสริมทักษะดิจิทัลสร้างแรงบันดาลใจผลักดันโอกาสเยาวชนหญิงไทยสู่การเรียนรู้ดิจิทัล ในโครงการ Girls in ICT Day Thailand

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) โดย นางสาวกษมา กองสมัคร ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายนโยบายและความมั่นคง เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศไทย และความสำเร็จของโครงการขับเคลือนความเท่าเทียมทางดิจิทัลสำหรับคนพิการและเด็กกลุ่มเปราะบาง สู่การเป็น Digital Inclusive Society” ให้กับเด็กและเยาวชนหญิงไทยที่เข้าร่วมโครงการ Girls in ICT Day จากทั่วประเทศ โดยมี Mr.Masanori Kondo เลขาธิการขององค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APT) เป็นเจ้าภาพกล่าวเปิดงาน ในการนี้นางสาวกษมา ได้เน้นย้ำถึงภารกิจของ depa ที่มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนไทยทุกกลุ่ม ตามที่ฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคง (ฝสม.) มีเป้าหมายในการพัฒนาทักษะดิจิทัลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมในเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการและคนกลุ่มเปราะบาง และถ่ายทอดผลสำเร็จของโครงการ APTYPS 2021 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นความร่วมมือระดับประเทศระหว่าง depa กับ APT และมูลนิธิพระมหาไถ่ฯ ในการจัดประกวดสร้างสรรค์สื่อเพื่อสะท้อนประเด็นความเหลื่อมล้ำทางสังคมจากมุมมองคนพิการและกลุ่มเปราะบาง สร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นความตระหนักถึงการอยู่ร่วมกันโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในงานวันเดียวกันนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับฟังการถ่ายทอดเรื่องราวของการผลักดันเยาวชนหญิงสู่การเรียนรู้ดิจิทัลในโครงการชื่อ SheHack โดยความร่วมมือของ Sistas Committee และ Girls Geek Acadamy จากประเทศวานูอาตูอีกด้วย

จากนั้น depa นำทัพพันธมิตรเครือข่าย ยกขบวนร่วมกิจกรรมต่อเนื่องกับโครงการ Girls in ICT Day จัดขึ้น ณ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จ.นนทบุรี โดยมีครูและอาจารย์ 100 คน จาก 14 สถาบันการศึกษาที่เข้ารับการถ่ายทอดองค์ความรู้ภายใต้โครงการ Girls in ICT Day ในหัวข้อ Digital Literacy Skills for Girls ทั้งรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์จากทั่วประเทศ โดยความร่วมมือของสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สหประชาชาติ (UNESCAP, UNESCO, UNICEF และ UN Women) องค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APT) บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ จำกัด (CISCO) ศูนย์วิจัยการจัดการความรู้การสื่อสารและการพัฒนา (CCDKM) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ในงานนี้ depa ได้ร่วมเชิญวิทยากรจากเครือข่ายพันธมิตรคือ “คุณประภาพัชร ชุณวรากรณ์” จาก YoungHappy และ “คุณพรสวรรค์ ภูเรียนคู่” ตัวแทนจากสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการบรรยายหัวข้อ “สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ โอกาสและความสำเร็จที่สร้างได้จริง” และหัวข้อ “แรงบันดาลใจในการถ่ายภาพเพื่อสร้างรายได้” ให้กับนักเรียนหญิงทั่วประเทศ โดยมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างเสริมแรงบันดาลใจในการหยิบจับสิ่งรอบตัวสร้างสรรค์เป็น Digital Content และต่อยอดสู่การสร้างรายได้และประสบความสำเร็จในโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่จะเป็นกุญแจไขสู่โอกาสในโลกดิจิทัลที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเป็นอินฟลูเอนเซอร์ หรือการทำธุรกิจออนไลน์ รวมถึงสร้างความตระหนักถึงบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัล ในฐานะเครื่องมือในการสร้างโอกาสใหม่ๆ ที่ช่วยให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีช่องทางในการสร้างอาชีพหรือรายได้เพิ่มขึ้น โดยกิจกรรมในวันนี้ depa หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหลังจากจบโครงการนี้จะเป็นโอกาสให้น้อง ๆ เด็กและเยาวชนหญิงจากทั่วประเทศเกิดแรงบันดาลใจ มองเห็นโอกาสที่เป็นไปได้ และต่อยอดองค์ความรู้จากทักษะการสร้างเนื้อหาในโลกออนไลน์ สู่การเป็นบุคลากรที่พร้อมด้วยทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นกำลังหลักในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยต่อไป

ข้อมูล https://www.facebook.com/depathai

Loading

Related Posts

กิจกรรมการแข่งขัน Cyber Seagame 2024 ย้อนหลัง

ที่มา Thailand National Cyber …

Read more

ประกาศผลการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ “Thailand Cyber Top Talent 2024”

การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ “Thailand Cyber Top Talent 2024” รอบชิงชนะเลิศ วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2567 ทีมเข้าแข่งขันจํานวน 30 ทีมณ ห้อง Grand Ballroom ณ โรงแรม Intercontinential Hotel Bangkok ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 521,000 บาท พร้อมเหรียญที่ระลึก โล่รางวัล และเกียรติบัตร ผลการแข่งขัน ปรากฏว่า

Read more

กิจกรรมการแข่งขัน Thailand Cyber Top Talent 2024 รอบชิงชนะเลิศ 12 ตุลาคม 2567 ย้อนหลัง

การแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย Thailand Cyber Top Talent 2024 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมุ่งหวังให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่เข้าร่วมการแข่งขันได้ เรียนรู้ พัฒนาทักษะ และประสบการณ์ เพื่อให้กลายเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และเป็นการสร้างแรงงานออกสู่ตลาดแรงงานในอนาคต อีกทั้งเป็นการช่วยเพิ่มความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ให้กับบุคคลทั่วไปมากขึ้น

Read more

ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมเป็นกำลังใจให้กับผู้แข่งขันทักษะทางไซเบอร์ Thailand Cyber Top Talent 2024 รอบชิงชนะเลิศ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) โดย สถาบันวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมเป็นกำลังใจให้กับผู้แข่งขัน Thailand Cyber Top Talent 2024 รอบชิงชนะเลิศ และร่วมฟังการบรรยายจากวิทยากรที่มีประสบการณ์ด้าน Cyber Security ชั้นนำของประเทศไทย

Read more

ประกาศผลการแข่งขัน Thailand Cyber Top Talent 2024 รอบคัดเลือก

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) ขอแสดงความยินดีกับทีมที่ได้ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
แล้วพบกันในรอบชิงชนะเลิศในวันที่ 12 ตุลาคม 2567

Read more

กิจกรรมการแข่งขัน Thailand Cyber Top Talent 2024 รอบคัดเลือก วันที่ 28 กันยายน 2567 ย้อนหลัง

การแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย)

Read more