3 อันดับภัยไซเบอร์ใกล้ตัวที่คนไทยถูกหลอกมากที่สุด

https://www.bot.or.th/

หากพูดถึงภัยไซเบอร์ในปัจจุบัน เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินข่าวการโจมตีสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจต่าง ๆ หรือหน่วยงาน ภาครัฐมาบ้างแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้น ภัยไซเบอร์อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด คอลัมน์ Financial Wisdom ฉบับนี้ จะพาไปทำความรู้จักภัยไซเบอร์ใกล้ตัวแต่ละประเภทที่ควรรู้ รวมถึงแนะนำวิธีรับมือและป้องกันตนเองจากภัยที่อาจเกิดขึ้น

ภัยประเภทที่ 1 : มิจฉาชีพบน Social Media

          ในยุคแห่ง Social Media นั้นเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเราใช้ชีวิตและทำกิจกรรมต่าง ๆ บนโลกออนไลน์มากขึ้นเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ซึ่งมิจฉาชีพเองก็เริ่มใช้ช่องทางดังกล่าวเพื่อแสวงหาผลประโยชน์เช่นเดียวกัน โดยอาศัยข้อมูลจากแชทหรือโพสต์ต่าง ๆ เป็นตัวช่วยในการสวมรอยหรือปลอมแปลงข้อมูลเพื่อหลอกลวง ประชาชน ยกตัวอย่างเช่น การส่งข้อความแชทเพื่อหลอกให้โอนเงิน หรือการปลอมแปลงสลิปโอนเงินในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ซึ่งถ้าหากเราไม่ระวังอาจทำให้สูญเสียเงิน หรือเสียผลประโยชน์ทางธุรกิจได้

วิธีรับมือและป้องกัน :

          1. อย่าหลงเชื่อข้อความผ่านแชทเพื่อขอให้โอนเงินหรือขอข้อมูลใด ๆ หาก ผู้ส่งข้อความเป็นเพื่อน ควรติดต่อเพื่อนโดยตรงผ่านช่องทางอื่นเพื่อยืนยัน ตัวตนและจุดประสงค์ก่อน

          2. ควรตรวจสอบสลิปโอนเงินจากผู้โอนให้มั่นใจก่อนยืนยันการโอนเงิน ทุกครั้ง

ภัยประเภทที่ 2 : อีเมลหลอกลวง (Phishing)

          ทุกวันนี้ เราทุกคนมีอีเมลเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและสมัครบริการต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ จึงไม่ถือเป็นเรื่องแปลกที่เหล่ามิจฉาชีพจะนิยมใช้ช่องทางนี้ในการแสวงหาผลประโยชน์หรือ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ซึ่งหนึ่งในกรณีที่พบเห็นบ่อย คือ การส่งอีเมลโดยแอบอ้างเป็นธนาคารพาณิชย์ เพื่อหลอกให้ทำธุรกรรม หรือกรอกข้อมูลสำคัญ เช่น รหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต นอกจากนี้ มิจฉาชีพอาจฝังมัลแวร์ (โปรแกรมมุ่งร้าย) ไว้ในเอกสารแนบของอีเมล ซึ่งหากเปิดไฟล์ดังกล่าว จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้รับเกิดความเสียหายได้ เช่น ไฟล์ต่าง ๆ ถูกยึดเพื่อเรียกค่าไถ่ หรือระบบคอมพิวเตอร์ถูกทำลายจนไม่สามารถใช้งานได้

วิธีรับมือและป้องกัน :

          หากได้รับอีเมลต้องสงสัยให้ “คิด” ก่อน “คลิก” ควรตรวจสอบผู้ส่ง เนื้อหาและลิงก์ภายในอีเมลโดยละเอียดก่อนตอบกลับหรือให้ข้อมูลใด ๆ ทุกครั้ง

ภัยประเภทที่ 3 : การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (Data Theft)

          สำหรับผู้อ่านที่ติดตามข่าวด้าน Cybersecurity ในช่วงนี้ จะเห็นได้ว่ามีข่าวเว็บไซต์และบริการหลายแห่งถูกแฮกข้อมูล หรือทำข้อมูลรั่วไหลออกมาบ่อยครั้ง ซึ่งรวมถึงเว็บไซต์และบริการสาธารณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ใช้อยู่ด้วย โดยข้อมูลที่รั่วไหลมักเป็นข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้งาน รหัสผ่าน หรือข้อมูลบัตร เครดิต และมิจฉาชีพสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเข้าถึงบัญชีผู้ใช้งานของเราหรือกระทำการใดโดยมิชอบในนามของเราได้ เช่น โอนเงินโดยทุจริต

วิธีรับมือและป้องกัน :

          1. ไม่ให้ข้อมูลสำคัญกับเว็บไซต์หรือบริการใด ๆ หากไม่จำเป็น

          2. หมั่นติดตามข่าวสารด้าน Cybersecurity อย่างสม่ำเสมอ หากพบว่ามีข่าวเว็บไซต์หรือบริการที่ท่านใช้งานอยู่ถูกขโมยข้อมูลไป ควรรีบเปลี่ยนรหัสผ่านหรือดำเนินการต่าง ๆ เพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เช่น อายัดบัตรเครดิตทันที

          จะเห็นได้ว่าภัยไซเบอร์นั้นมีหลากหลายรูปแบบ และอาจส่งผลกระทบต่อตัวเราครอบครัว และองค์กรได้โดยไม่ทันตั้งตัว ดังนั้น เราจึงต้องตระหนักรู้และเท่าทันภัยไซเบอร์ตลอดเวลาโดยติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ การอัปเดตอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่ออุดช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกัน

ข้อมูลจาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256203FinancialWisdom.aspx

Loading

Related Posts

How to ป้องกัน-รับมือ ล้วงข้อมูล

สัมภาษณ์ พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ในรายการ “100.5อาสาเตือนภัย” 11 ก.พ. 67 ทาง FM100.5 ดำเนินรายการโดย ปรางคณิต บุญเผย และ กมลพร ร่มทองคำ

Read more

เตือนภัยไซเบอร์! อย่าคลิกลิงก์หรือแนบไฟล์ที่มาจากเว็บไซต์ Google Bard AI ปลอม

สกมช. เตือนอย่าคลิกลิงก์หรือแนบไฟล์ที่มาจากเว็บไซต์ Google Bard AI ปลอม ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อคอมพิวเตอร์หรือทำให้ข้อมูลส่วนตัวของคุณถูกเปิดเผยโดยไม่ได้ตั้งใจ การเลือกใช้แหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ข้อมูลของคุณปลอดภัย โปรดระมัดระวังทุกครั้งเมื่อใช้งานเว็บไซต์

Read more

แจ้งเตือนกรณี Fortinet ออกแพตช์แก้ไขช่องโหว่ RCE ในอุปกรณ์ Fortigate SSL-VPN

บริษัท Fortinet ได้ออกแพตช์ช่องโหว่หมายเลข CVE-2023-27997(ความรุนแรงระดับ 9.2) ซึ่งเป็นเฟิร์มแวร์ระบบปฏิบัติการในอุปกรณ์ Firewall Fortigate SSL-VPN ที่อาจถูกผู้ไม่หวังดีใช้ประโยชน์จากการทำ Remote Code Execution

Read more

เตือนภัยไซเบอร์ เว็บไซต์ปลอม คล้าย Facebook ห้ามคลิก

สกมช. เตือนห้ามคลิกลิงก์ปลอมเป็นอันขาด เนื่องจากมีการตรวจพบการแอบอ้างใช้ชื่อเว็บไซต์ของ Facebook โดยมีลักษณะเป็นเว็บไซต์ฟิชชิ่งที่ปลอมแปลงหน้าเว็บขึ้นมาเพื่อขโมยข้อมูล ซึ่งอันตรายและก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน

Read more

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมเวทีการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รุ่นที่ 1

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมเวทีการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รุ่นที่ 1 ฟรี !! ไม่มีค่าใช้จ่าย

Read more

ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล ทำอย่างไร

ทุกวันนี้เรามักได้ยินข่าวการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลบ่อยขึ้น ไม่ว่าจากโซเชียลมีเดียหรือกลลวงของมิจฉาชีพในรูปแบบต่างๆ และอาจถูกนำข้อมูลส่วนบุุคคลดังกล่าวไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย นำความเดือดร้อนมาให้กับเจ้าของข้อมูล ซึ่งทำให้หลายท่านเกิดคำถามที่ว่า “ควรทำอย่างไรเมื่อข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล”

Read more