สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ผลักดันการพัฒนาบุคลากรด้านไซเบอร์ให้กับประเทศไทย โดยมีเป้าหมายหลัก คือ มุ่งยกระดับทักษะ ศักยภาพ และขีดความสามารถ บุคลากรด้านไซเบอร์ของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ และหน่วยสำคัญๆ ของประเทศ ให้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานสากล โดยที่ผ่านมา สกมช. ได้ดำเนินโครงการ รวมไปถึงการจัดอบรมต่างๆ ระหว่างปี 2564-2565 เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ดังต่อไปนี้
อบรมระยะยาว รวมทั้งสิ้น 114 ครั้ง รวมคนเข้าร่วมทั้งหมด 3,520 คน รวมชั่วโมงอบรมทั้งสิ้น 105,600 ชั่วโมง ได้แก่
โครงการเร่งรัดการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ แบ่งเป็น 6 หลักสูตร
จัดขึ้นทั้งสิ้น 107 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 3,200 คน รวม 96,000 ชม.
โครงการพัฒนาขีดความสามารถกระบวนการปฏิบัติงานด้านไซเบอร์ตามมาตรฐานสากลของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ แบ่งเป็น 2 หลักสูตร
1.Lead Implementor ทั้งหมด 4 รุ่น จำนวนทั้งสิ้น 200 คน รวม 6,000 ชม.
2.Lead Auditor ทั้งหมด 3 รุ่น จำนวนทั้งสิ้น 120 คน รวม 3,600 ชม.
อบรมระยะสั้น รวมทั้งสิ้น 23 ครั้ง รวมคนเข้าร่วมทั้งหมด 9,185 คน รวมชั่วโมงอบรมทั้งสิ้น 17,489 ชั่วโมง ได้แก่
Cybersecurity Knowledge Sharing ทั้งหมด 18 ครั้ง ยอดผู้เข้าร่วม ทั้งหมด 8,159 คน รวม 14,411 ชม.
Cyber Clinic 2022 ทั้งหมด 5 ครั้ง ยอดผู้เข้าร่วม ทั้งสิ้น 1,026 คน รวม 3,078 ชม.
การฝึก Thailand’s National Cyber exercise ทั้งหมด 66 หน่วยงาน 458 คน รวม 23,823.5 ชม.
การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานองค์กร ทั้งในและต่างประเทศ เช่น CompTIA, Trend Micro, Microsoft และ Mandiant ทั้งหมด 7 ครั้ง ยอดผู้เข้าร่วม ทั้งสิ้น 3,618 คน รวม 10,566 ชม.
ทั้งนี้ สกมช.ยังคงมุ่งดำเนินโครงการในปีนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนากำลังคนด้าน Cybersecurity ของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศของประเทศ ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน โดยกลุ่มเป้าหมายของโครงการ นอกจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานและบริการที่สำคัญของรัฐและเอกชนแล้ว ยังขยายไปยังกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ประเทศไทยมีบุคลากร ด้าน Cybersecurity ทัดเทียมกับประเทศอื่นในภูมิภาคและสากล
ข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)