หวั่นก.ม.PDPA โกลาหล คนไทย…รู้จักแค่ไหน?

https://thekey.news/

การบังคับใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (พ.ศ.2562) หรือ PDPA (Personal Data Protection Act) เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2565 กำลังเป็นที่กล่าวขานในสังคมไทยกันไม่น้อย แม้ว่าการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ได้เลื่อนมาแล้ว 2 ปีก็ตาม

หลักการของกฎหมายฉบับนี้ คือ ต้องการให้ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนที่อยู่ในผืนแผ่นดินแห่งนี้ ได้รับการปกป้อง การดูแล

ไม่ให้มีการนำไปใช้ในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง หากใครนำไปใช้โดยเจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม และทำให้เกิดความเสียหาย ก็สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้ตามกฎหมาย

อย่าลืมว่า!!ทุกวันนี้…การใช้ชีวิตในยุคนิวนอร์มัล ต่างอยู่บนโลกออนไลน์ ทั้งการทำธุรกรรม การช้อปปิ้ง ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเปิดเผยข้อมูลให้กับร้านค้า องค์กร บริษัท แบงก์ และอีกสารพัด ที่เรา ๆ ท่าน ๆ ไปร่วมทำสังฆกรรม

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกว่า ทำไม? ที่ผ่านมา ข้อมูล โดยเฉพาะเบอร์โทรศัพท์ จึงตกไปอยู่ในมือของบริษัทต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการขายประกัน ขายบัตรเครดิต หรือแม้แต่เรื่องของการถูกหลอกลวงในสารพัดรูปแบบ

ถามว่า…การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ถือเป็นเรื่องดีหรือไม่? ถ้าดูในหลักการแล้ว ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องดีแน่นอน เพราะจากนี้ไปข้อมูลที่เป็นสิทธิส่วนบุคคลของเรา ย่อมได้รับความคุ้มครอง

แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ประชาชนเจ้าของข้อมูลในเวลานี้ รู้หรือไม่ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร กับกฎหมายฉบับนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ่ออุ๊ย แม่อุ๊ย ผู้สูงวัย เบบี้บูมทั้งหลาย

ล่าสุดคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน หรือ “กกร.” ได้ออกมาให้ข้อคิด ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องหยุดคิด!! กันสักหน่อย โดยภาคเอกชนระบุว่า ณ เวลานี้ ประชาชนกว่า 90% ไม่เข้าใจเนื้อหา ไม่เข้าใจแนวทางปฏิบัติของกฎหมายฉบับนี้

ที่สำคัญ!! ยังมีมุมมองที่น่าสนใจอีกว่า ความไม่เข้าใจ ความไม่รู้เรื่องอย่างแตกฉาน!! กับกฎหมายพีดีพีเอ อาจนำไปสู่ช่องทางของการแสวงหาผลประดยชน์ของเจ้าหน้าที่หรือไม่?

ไม่เพียงเท่านี้ “บทลงโทษ” ของกฎหมาย!! อาจสร้างความเสียหายให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ก็เป็นไปได้ ทั้งที่อาจไม่ได้เป็นความจงใจกระทำผิดต่อกฎหมาย แต่อาจเกิดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจ สิ่งเหล่านี้!! จะแก้ไขกันอย่างไร

เพราะตามกฎหมายฉบับนี้ ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า หากผู้ใดหรือองค์กรใดไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด จะมีโทษทั้งทางแพ่ง โทษทางอาญา และโทษทางปกครอง

อย่างกรณีของ โทษทางแพ่ง ก็ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่ได้รับจริง และศาลสั่งลงโทษเพิ่มขึ้นได้ไม่เกิน 2 เท่าของสินไหมทดแทน

ถ้าเป็นกรณี โทษทางอาญา เช่น ทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เสียชื่อเสีย ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้อถูกจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือถ้าทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ก็ต้องถูกจำคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท

ขณะที่ โทษทางปกครอง เช่น หากไม่ขอความยินยอมให้ถูกต้อง ไม่แจ้งรายละเอียดให้เจ้าของข้อมูลทราบ ไม่ให้เจ้าขอข้อมูลเข้าถึงตามสิทธิ ฯลฯ ก็ต้องถูกปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือถ้าเป็นการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย หรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องถูกปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท เป็นต้น

ด้วยสารพัดสารเพ ของความไม่เข้าใจ ของความหวาดระแวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาผู้ประกอบการ บรรดาภาคเอกชน จึงเรียกร้องให้ภาครัฐ ต้องเร่งออกกฎหมายลูกที่มีกว่า 20 ฉบับ ออกมาโดยเร็ว และต้องมีรายละเอียดที่จำเป็น ครบถ้วน เพราะไม่เช่นนั้น อาจทำให้ภาคเอกชนลงทุนปรับปรุงระบบที่ซ้ำซ้อนหรือไม่ถูกต้องได้

ความกังวลของภาคเอกชน ที่มีต่อกฎหมายฉบับนี้ น่าจะเป็นอีกหนึ่งของตัวกระตุก ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องนำไปพินิจพิเคราะห์ แม้หลายองค์กรเอกชน ในเวลานี้ ต่างออกมาแสดงความพร้อม

แต่ขณะเดียวกัน ก็อย่าลืมว่า ยังมีประชาชนอีกจำนวนไม่น้อย ที่ยังไม่รู้จักกฎหมายพีดีพีเอ (PDPA) และเชื่อได้ว่า “ความโกลาหล” หลังจากนี้คงมีไม่น้อยเช่นกัน ต่อให้ขึ้นอยู่กับคำว่า “เจตนา” ก็ตาม!!

………………………………

คอลัมน์ : EC Focus by Virgo

ที่มา https://thekey.news/columnists/ec-focus-by-virgo/82706/

Loading

Related Posts

การแข่งขัน SWU Capture the Flag Competition 2025

เชิญชวนนิสิต นักศึกษาไฟแรง สาย…

Read more

AJCCBC ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมกับสมาพันธรัฐสวิส ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขัน Capture-the-Flag (CTF) for Female Youth ระดับภูมิภาคอาเซียน

Capture-the-Flag (CTF) for Fem…

Read more

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมกับ ASEAN-Japan Cybersecurity Capacity Building Centre (AJCCBC) ขอเชิญนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อายุต่ำกว่า 27 ปี เข้าร่วมกิจกรรมอบรมออนไลน์ CTF Virtual Training ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย!

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความ…

Read more

การแข่งขัน RERU Cyber Hackathon 2025

เวทีแข่งขันทักษะไอที ปัญญา และ…

Read more

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ขอเชิญชวนนักเรียน นิสิต นักศึกษา ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด”วิดีโอด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” ภายใต้โครงการ ภายใต้โครงการ ASEAN-Japan Cybersecurity Awareness Video Competition 2025

ขอเชิญชวนนักเรียน นิสิต นักศึก…

Read more

การแข่งขันปฏิบัติการด้านไซเบอร์กองทัพอากาศ ประจำปี 2568 | RTAF Cyber Operations Contest 2025

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ครั้งแรกของกองทัพอากาศไทย ในการจัดงานร่วมกันระหว่างศูนย์ซอฟต์แวร์กองทัพอากาศและศูนย์ไซเบอร์กองทัพอากาศ

Read more