พบสปายแวร์ ‘Facestealer’ ขโมยข้อมูล Facebook, Crypto, ข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ Android ‼️

facebook RTAF Security Awareness

📢นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Trend Micro ค้นพบสปายแวร์ (Spyware) ตัวใหม่ชื่อว่า “Facestealer” ที่ปลอมแปลงเป็น แอปพลิเคชันกว่า 200 แอป เผยแพร่อยู่บน Google Play และแอบขโมยข้อมูลประจำตัวของผู้ใช้ รวมถึงข้อมูลการใช้งานอื่น ๆ เช่น รหัสล็อกอิน Facebook เป็นต้น

📢”Facestealer” เป็น สปายแวร์ (Spyware) บนมือถืออีกตัวที่มีความสามารถเหมือน มัลแวร์ “Joker” และที่อันตรายคือมันมีการเข้ารหัสที่หลายรูปแบบ ทำให้มีความสามารถที่หลากหลาย รวมถึงสามารถหลบเลี่ยงการตรวจพบได้มาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อนักวิจัยได้ทราบถึงการมีอยู่ จึงได้รายงานไปยัง Google เพื่อขอให้ถอดรายชื่อแอปที่แฝง “Facestealer” เอาไว้

📢รายงานระบุว่าจาก 200 แอปพลิเคชันที่ถูกปลอมแปลงและมี “Facestealer” แฝงตัวอยู่ แบ่งเป็นแอปบริการ VPN จำนวน 42 ตัว, แอปกล้องถ่ายรูป 20 ตัว แอปแต่งรูป 13 ตัว และแอปอื่น ๆ อีก 125 ตัว นอกจากแต่ละแอปจะสามารถเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้แล้ว แอปยังออกแบบมาเพื่อรวบรวมข้อมูลคุกกี้ของ Facebook และหลอกให้ผู้ใช้เผยข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนที่เชื่อมโยงกับบัญชีของเหยื่อและยังมีถึง 40 แอปที่ปลอมตัวเป็นแอปขุด cryptocurrency และมีเป้าหมายเพื่อหลอกให้ผู้ใช้กดดูโฆษณาพร้อมหลอกให้สมัครค่าบรืการรับข้อมูลข่าวสาร อีกด้วย หนักหน่อยก็มีบางแอปสามารถพัฒนาก้าวข้ามไปถึงการขโมยข้อมูล seed phrases จากกระเป๋าคริปโตของเหยื่อ

แนวทางการป้องกัน
✅ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแอปพลิเคชั่นก่อนติดตั้งในมือถือ
✅ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส
✅อัปเดตระบบปฏิบัติการ android ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด


แหล่งที่มา : https://news.thaiware.com/20484.html, RTAF Security Awareness
*ฝากกดLike/กดShare และกดติดตาม เพื่ออัพเดทข่าวสารน่ารู้เกี่ยวการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

Loading

Related Posts

How to ป้องกัน-รับมือ ล้วงข้อมูล

สัมภาษณ์ พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ในรายการ “100.5อาสาเตือนภัย” 11 ก.พ. 67 ทาง FM100.5 ดำเนินรายการโดย ปรางคณิต บุญเผย และ กมลพร ร่มทองคำ

Read more

เตือนภัยไซเบอร์! อย่าคลิกลิงก์หรือแนบไฟล์ที่มาจากเว็บไซต์ Google Bard AI ปลอม

สกมช. เตือนอย่าคลิกลิงก์หรือแนบไฟล์ที่มาจากเว็บไซต์ Google Bard AI ปลอม ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อคอมพิวเตอร์หรือทำให้ข้อมูลส่วนตัวของคุณถูกเปิดเผยโดยไม่ได้ตั้งใจ การเลือกใช้แหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ข้อมูลของคุณปลอดภัย โปรดระมัดระวังทุกครั้งเมื่อใช้งานเว็บไซต์

Read more

แจ้งเตือนกรณี Fortinet ออกแพตช์แก้ไขช่องโหว่ RCE ในอุปกรณ์ Fortigate SSL-VPN

บริษัท Fortinet ได้ออกแพตช์ช่องโหว่หมายเลข CVE-2023-27997(ความรุนแรงระดับ 9.2) ซึ่งเป็นเฟิร์มแวร์ระบบปฏิบัติการในอุปกรณ์ Firewall Fortigate SSL-VPN ที่อาจถูกผู้ไม่หวังดีใช้ประโยชน์จากการทำ Remote Code Execution

Read more

เตือนภัยไซเบอร์ เว็บไซต์ปลอม คล้าย Facebook ห้ามคลิก

สกมช. เตือนห้ามคลิกลิงก์ปลอมเป็นอันขาด เนื่องจากมีการตรวจพบการแอบอ้างใช้ชื่อเว็บไซต์ของ Facebook โดยมีลักษณะเป็นเว็บไซต์ฟิชชิ่งที่ปลอมแปลงหน้าเว็บขึ้นมาเพื่อขโมยข้อมูล ซึ่งอันตรายและก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน

Read more

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมเวทีการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รุ่นที่ 1

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมเวทีการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รุ่นที่ 1 ฟรี !! ไม่มีค่าใช้จ่าย

Read more

ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล ทำอย่างไร

ทุกวันนี้เรามักได้ยินข่าวการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลบ่อยขึ้น ไม่ว่าจากโซเชียลมีเดียหรือกลลวงของมิจฉาชีพในรูปแบบต่างๆ และอาจถูกนำข้อมูลส่วนบุุคคลดังกล่าวไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย นำความเดือดร้อนมาให้กับเจ้าของข้อมูล ซึ่งทำให้หลายท่านเกิดคำถามที่ว่า “ควรทำอย่างไรเมื่อข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล”

Read more